ชมรมคนคลั่งทะเล
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

ชมรมคนคลั่งทะเล รวบรวมกลุ่มบุคคลผู้ชื่นชอบยันคลั่งในทะเล


You are not connected. Please login or register

เที่ยวทะเลไปตามคำขวัญเทศบาลเมืองแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี

Go down  ข้อความ [หน้า 1 จาก 1]

Admin

Admin
Admin

เที่ยวทะเลไปตามคำขวัญเทศบาลเมืองแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี Logo_ss
บางแสนแสนสุข สามมุขลือนาม ข้าวหลามหนองมน ประชาชนสามัคคี ประเพณีวันไหล


บางแสนแสนสุข
บางแสน เป็นที่เที่ยวยอดนิยมมานาน มีสถานที่ท่องเที่ยวเรียงรายต่อเนื่องกันไปตลอดเส้นทางเลียบชายทะเล พร้อมของกินและที่พักให้เลือกอีกมากมาย บางแสน เป็นหาดทรายทะเลขนาดใหญ่ที่อยู่ใกล้กรุงเทพ มากที่สุด เป็นสถานตากอากาศชายทะเลยอดนิยมมาตั่งแต่ พ.ศ. 2486 จนถูกขนานนามว่า "บางแสนดินแดนสุขขี" ผู้คนเดินทางไปท่องเที่ยวกันจำนวนมาก. ประวัติของหาดบางแสน เดิมเป็นชายทะเลรกร้าง อยู่ในตำบลชื่อ "แสนสุข" จนกระทั่ง พ.ศ. 2486 จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นได้ริเริ่มให้มีการสร้างสถานตากอากาศขึ้นมีการสร้าง โรงแรม และ ที่พักต่างๆ ดำเนินการโดยบริษัทแสนสำราญ จึงเรียกว่าสถานตากอากาศแสนสำราญตามชื่อบริษัท ต่อมาใน พ.ศ. 2503 จึงโอนให้สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล และเปลี่ยนชื่อเป็น สถานตากอากาศบางแสน ชายหาของ ต. แสนสุข จ. ชลบุรี หาดบางแสน เป็นช่วงกลางของหาดและเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวนิยมเล่นน้ำ ชายหาดยาว 2กม. นับจากวงเวียนบางแสนจนถึง โรงแรม เอส เอส บางแสนบีช หาดบางแสนมีความลาดเอียงเล็กน้อย ระดับน้ำตื้น เหมาะแก่การเล่นน้ำ หาดทรายที่บางแสนไม่ขาวเนื่องจากมีตะกอนจากแม่น้ำบางปะกง แต่หาดทรายมีเนื้อละเอียด สามารถจอดรถริมถนนได้


สามมุขลือนาม
สัญลักษณ์ในดวงตราประจำจังหวัดชลบุรี เป็นเนินเขาเตี้ย ๆ อยู่กึ่งกลางระหว่างบ้านอ่างศิลา และหาดบางแสน เชิงเขาเป็นที่ตั้งศาลเจ้าแม่เขาสามมุข ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของคนทั่วไป บริเวณเขาสามมุขมีลิงป่าอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก หากขับรถไปขึ้นไปบนเขาจะมองเห็นวิวทิวทัศน์ของทะเลบางแสนได้สวยงาม ตำนานเขาสามมุข ตำนานเล่าว่ามีหนุ่มชื่อ "แสน" กับสาวชื่อ "มุข" รักกันมาก แต่ความรักนั้นไม่สมหวัง ทั้งสองจึงได้มาจบชีวิตลงตามคำสาบานที่ให้ไว้ต่อกันตรงหน้าผาด้านข้างศาล ถือเป็นแบบอย่างของความรักที่ซื่อสัตย์ที่เล่าขานกันมาถึงปัจจุบัน อีกตำนานกล่าวว่าเดิมเขาสามมุขเป็นถ้ำใหญ่ ในถ้ำมีทรัพย์สมบัติมากมาย เช่น โต๊ะ โตก ถาด ถ้วย จาน ฯลฯ สิ่งของเหล่านี้ถือกันว่าเป็นของเจ้าแม่เขาสามมุข เวลามีงานชาวบ้านไปบอกกล่าวขอยืมมาใช้ได้ เสร็จแล้วก็เอาไปคืน ต่อมามีคนไม่ซื่อตรงยืมมาแล้วเอาของไม่ดีไปส่งแทน บางทีก็ไม่ส่งคืน เจ้าจึงเอาหินปิดปากถ้ำเสีย ไม่ให้ใครเข้าออกอีก เจ้าแม่เขาสามมุขจึงเป็นที่เคารพนับถือมาจนทุกวันนี้ ใครไปกราบไหว้จะต้องถวายว่าวและมะพร้าวอ่อน เพราะเชื่อว่าเจ้าแม่โปรด


ข้าวหลามหนองมน
ในอดีต ชาวบ้านหนองมนทำนาเป็นอาชีพหลัก และทำข้าวหลามขายเป็นอาชีพรอง เมื่อหมดฤดู
ทำนาก็จะขึ้นไปตัดไม้ไผ่บนเขาบ่อยาง ซึ่งอยู่ในละแวกหมู่บ้าน แล้วเอาข้าวเหนียวที่ปลูกได้ไปแลกน้ำตาลกับมะพร้าวจากบ้านอื่นๆ เพื่อมาทำข้าวหลามขายในหมู่บ้าน ต่อมาเมื่อมีการตัดถนนสุขุมวิท (สายเก่า) ในปี พ.ศ. 2485 ได้เอื้อให้นักท่องเที่ยวไปเที่ยวหาด บางแสน ซึ่งเป็นที่เที่ยวโด่งดังในยุคนั้นได้สะดวกขึ้น นักท่องเที่ยวจึงแวะซื้อข้าวหลาม เป็นของฝากกลับบ้าน ทำให้ข้าวหลามหนองมนมีชื่อเสียงมากขึ้น ต่อมา จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ในขณะนั้น มาพักตากอากาศที่บางแสนพร้อมกับนายพลเนวิน ผู้นำประเทศพม่า และได้สั่งให้แม่ค้าข้าวหลามที่ตลาดหนองมน ชื่อแม่เผื่อและแม่เหมือน ไปสาธิตวิธีการเผาข้าวหลามให้ชม จนกลายเป็นข่าวดังไปทั่วประเทศ


ประชาชนสามัคคี
ประชาชนชาวแสนสุข มีความสามัคคี ตัวอย่างเช่น มีนักท่องเที่ยวมาซื้อของในตลาด อีกร้านหนึ่งซึ่งขายของเหมือนกันก็มาช่วยขายได้ แม้จะขายเหมือนกันเป็นคู่แข่งกันก็ตาม หรือแม้แต่นักท่องเที่ยวโดนแมงกะพรุน ชาวแสนสุขก็จะมาช่วยเหลือนักท่องเที่ยวที่โดนแมงกะพรุน เป็นต้น


ประเพณีวันไหล
วันไหล คือ วันทำบุญขึ้นปีใหม่ของชาวทะเล โดยกำหนดหลังวันมหาสงกรานต์ประมาณ 5-6 วัน เดิมเรียกว่า ประเพณีก่อพระทรายน้ำไหล วัดไดอยู่ใกล้แม่น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึงในบริเวณนั้น ก็จะจัดประเพณีขึ้นโดยชาวบ้านจะช่วยกันชนทรายตามชายหาดใกล้ ๆ เข้าวัด ทำให้วัดนั้น ๆ ได้รับประโยชน์ในการใช้ทรายก่อสร้างเสนาสนะและปูชนียสถานในวัด หรือถมบริเวณวัด วันก่อพระทรายน้ำไหล เป็นวันที่ชาวบ้านขนทรายมาเข้าวัด เพื่อก่อเป็นรูปกรวยเล็ก ๆ เพื่อให้ครบ 84000 กอง เท่ากับจำนวนพระธรรมขันธ์ เจดีย์ทรายตกแต่งอย่างวิจติรบรรจงประดับด้วยดอกไม้ และธงต่าง ๆ เพื่อเป็นพุทธบูชา มีการละเล่นพื้นเมืองเพื่อความสามัคคีและสนุกสนานรื่นเริง มีการทอดผ้าป่า ทำบุญเลี้ยงพระเนื่งในเทศกาลตรุษไทย และจัดเลี้ยงผู้คนที่มาร่วมงานด้วย ปัจจุบันสถาพบ้านเมืองได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การขนทรายเข้าวัดดังเช่นในอดีตที่เคยใช้การหาบเข้ามาก็เปลี่ยนเป็นบรรทุกใส่รถยนต์แทน เพื่อให้เกิดความสะดวกและรวดเร็ว วัดหลายวัดจึงไม่เห็นความจำเป็นที่จะใช้ทรายที่ถูกซัดมารวมที่ คู หนอง คลอง บึง ประกอบกับสถานที่ดังกล่าวเกิดสถาพตื้นเขิน งานก่อพระทรายจึงเปลี่ยนไป และเรียกกันง่าย ๆ ว่า วันไหล หรือ ประเพณีวันไหล จังหวัดชลบุรีได้จัดงานวันไหลและส่งเสริมการท่องเที่ยวบริเวณชายหาดบางแสน และชายหาดพัทยา ขึ้นประมาณวันที่ 17-18 เมษายน ของทุกปี

จาก
www.amphoe.com
board.eduzones.com
www.บางแสน.com
http://school.obec.go.th


_________________
ขอเชิญชวนผู้รักทะเล ชอบทะเล คลั่งทะเล ทุกท่านมาเป็นสมาชิกกับเรา

เว็บไซต์เพื่อนบ้าน
http://50secretsbkk.thai-forum.net

และ

http://siamois-wenhua.thai-forum.net/
https://konklungtalay.thai-forum.net

ขึ้นไปข้างบน  ข้อความ [หน้า 1 จาก 1]

Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ